หน้าแรก ITA Facebook Admin

-: ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง:-

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริการส่วนตำบลนางรอง

องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
    2.1 จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
    2.2 การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
    2.3 ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
    2.4 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    2.5 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    2.6 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
    2.7 คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2.8 บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    2.9 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
    3.1 ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
    3.2 ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
    3.3 ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
    3.4 ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
    3.5 ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
    3.6 ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
    3.7 บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
    3.8 การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
    3.9 หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
    3.10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
    3.11 กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
    3.12 การท่องเที่ยว
    3.13 การผังเมือง
        อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมหรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลแต่ต้องแจ้ง ให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนิน กิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไป

    ประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและ ข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการ ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและ กำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ในส่วนของการบริหารงานนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การ บริหารส่วนตำบล และส่วนต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งขึ้น โดยมีพนักงานส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และ องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจาก ต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจ ของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน

2. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

      หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ

มาตรา 16 ให้เทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 
การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ 
การสาธารณูปการ 
การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ 
การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 
การส่งเสริมการท่องเที่ยว 
การจัดการศึกษา 
การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 
การบารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 
การส่งเสริมกีฬา 
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 
การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 
การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 
การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ 
การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
การผังเมือง 
การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 
การดูแลรักษาที่สาธารณะ 
การควบคุมอาคาร 
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
3. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆกำหนด
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล พ.ศ.2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆอีกเป็นจำนวนมาก เช่น

พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ.2464
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534
พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ.2490
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495
พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523
พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526
พระราชบัญญัติสุสานและณาปนสถาน พ.ศ.2528
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลำคลอง)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)
ประมวลกฎหมายที่ดิน (ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่าตามคำสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 890/2498

 
                                  

เว็บไซต์ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง